ประกอบด้วย
น้ำ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (ความเข้มข้น 3% - 12%)
สารเพิ่มความหนืด (Thickener)
ตัวกระจายเนื้อเดียวกัน หรือ อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifiers) / สารลดแรงตึงผิว (Surfactants)
สารทำให้คงตัว (Stabilizers)
กรด (Acids)
สารบัฟเฟอร์ (Buffer)
ส่วนที่เป็นไขมัน (Fatty Phase)
สารเพิ่มความหนืดและสารอิมัลซิไฟเออร์
ส่วนที่เป็นน้ำ (Water Phase)
น้ำ, สารด่าง (Alkalizing agents), สารบัฟเฟอร์ (Buffer), สารลดแรงตึงผิว (Surfactants), สารรีดิวซ์และตัวก่อสารเชิงซ้อน (Reducing an d complexing agents), น้ำหอม (Perfume) และส่วนผสมที่ช่วยดูแลเส้นผมอื่นๆ
สารทำสี (Dyestuffs)
สีย้อมแบบออกซิเดชันกับตัวช่วยจับคู่ (Couplers), สารตั้งต้น (Precursors) และสีย้อมโดยตรง (Direct Dyes)
H2O2 และสารสร้างสี จะทำปฏิกิริยากันจนกลายเป็นสีย้อม สีแบบออกซิเดชันจะทำปฏิกิริยาเมื่อเติม H2O2 เพื่อใช้เป็นตัวกระตุ้นปฏิกิริยา กระบวนการออกซิเดชันนี้จะเปลี่ยนสารสร้างสีที่ไม่มีสีในมวลครีม ให้กลายเป็นเม็ดสีที่สามารถกักเก็บไว้ภายในเส้นผมได้
สีย้อมที่ทำปฏิกิริยาอย่างสมบูรณ์จะยึดเกาะกับเส้นผมและติดทนนาน
สีย้อมแบบออกซิเดชันส่วนใหญ่มักเกาะติดอยู่ภายในเส้นผม
ช่างทำสีผมมักถามว่า สีแดงเฉดอ่อนเป็นสีชนิดเดียวกับสีแดงเฉดเข้มหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ใช่ เนื่องจากมีเฉดสีแดง น้ำตาล ทองแดง หรือทองหลายชนิดที่ปรากฏในโทนสีต่างๆ
การพัฒนาสีผมแบบออกซิเดชันมีความซับซ้อนมาก นักเคมีจะต้องเลือกตัวช่วยจับคู่และสารตั้งต้นหลายชนิดเพื่อสร้างเฉดสีใหม่ การผสมสารตั้งต้นกับตัวช่วยจับคู่ต่างชนิดกันจะได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน โดยการจับคู่แต่ละแบบจะสร้างเฉดสีเฉพาะตัว และในเฉดสีเดียวกันอาจประกอบด้วยการจับคู่หลายชุด
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีสiได้ที่น